Categories
โภชนาการโรคมะเร็ง

อาหารแบคทีเรียต่ำ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอาจมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากได้ยาเคมีบำบัดประมาณ 7-14 วัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นในช่วงที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำนี้​ (เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลลดลงเหลือน้อยกว่า 500 เซลล์/ต่อไมโครลิตร) จึงแนะนำให้รับประทานอาหารแบคทีเรียต่ำ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อที่อาจจะเจือปนมากับอาหาร

อาหารแบคทีเรียต่ำ (neutropenic diet) คือ อาหารสุกสะอาด โดยมีหลักการว่าอาหารทุกอย่างจะต้องผ่านกระบวนการปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ไม่สามารถล้างให้สะอาดหรือปอกเปลือกได้ อาหารหมักดอง และอาหารที่เสี่ยงต่อการเจือปนของเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

อาหารที่รับประทานได้และควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

เนื้อสัตว์และไข่

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • เนื้อสัตว์/ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ ที่ผ่านกระบวนการปรุงสุกอย่างทั่วถึง
  • อาหารกระป๋อง, ปลากระป๋อง
  • อาหารสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์
  • เนื้อสัตว์ดิบ/กึ่งสุกกี่งดิบ, ซูชิ, ซาชิมิ, หอย เช่น หอยกาบ, หอยแมลงภู่, หอยนางรม เป็นต้น
  • อาหารทะเลรมควันที่ไม่ผ่านความร้อน
  • ไข่ดิบ, ไข่ลวก, ไข่ยางมะตูม
  • โฮมเมดมายองเนส

นมและผลิตภัณฑ์จากนม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
  • วิปปิ้งครีม
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • โยเกิร์ต

ผักผลไม้

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ผักสุก, ผลไม้ที่ปอกเปลือกได้และผ่านการล้างให้สะอาด
  • ผลไม้แห้งและผลไม้กระป๋องที่บรรจุในภาชนะปิดจากโรงงานที่ได้คุณภาพ
  • ผักสด, ผลไม้ที่กินทั้งเปลือก หรือผลไม้ที่ไม่สามารถผ่านกระบวนการล้างให้สะอาดได้
  • ผักและผลไม้แช่แข็งที่ไม่ผ่านความร้อน

ข้าว แป้ง และธัญพืช

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ขนมปัง/เบเกอรี่ ที่ผ่านการอบด้วยความร้อน
  • ข้าว/ผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญพืช ที่ผ่านกระบวนการปรุงสุกด้วยความร้อน
  • ขนมปังที่มีส่วนผสมของคัสตาร์ด หรือมายองเนสสด
  • ข้าวหมาก, ข้าวหลาม

ของหวาน

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • เค้ก, พุดดิ้ง, ไอศกรีม, ขนม, ลูกอม และหมากฝรั่ง ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท
  • ไอศกรีมตัก, ซอฟต์ครีม หรือไอศกรีมที่กดจากตู้ปั่นไอศกรีม
  • ขนม หรือของหวานที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงสุกด้วยความร้อน

เครื่องดื่ม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • น้ำที่ผ่านการต้ม หรือกรองด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิส
  • เครื่องดื่มที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
  • น้ำแข็งที่ซื้อมาจากร้านค้า

เครื่องปรุง

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • วัตถุปรุงแต่งอาหาร เช่น ซอส, ซอสปรุงรส, แยม, เนยถั่ว, น้ำผึ้ง ฯลฯ ที่อยู่ในซอง/บรรจุภัณฑ์ปิดสนิท ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • พริกไทย/กระเทียม โรยหน้า ในภาชนะใช้ร่วมกันโดยไม่ผ่านความร้อน
  • น้ำผึ้งที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์และรังผึ้ง

ถึงแม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาหารแบคทีเรียต่ำ สามารถลดอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยได้ เมื่อเทียบกับอาหารที่ปรุงสะอาดตามหลักสุขอนามัยทั่วไป แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็ยังแนะนำอาหารในกลุ่มนี้ เนื่องจากน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าโทษ

โดยผู้ป่วยสามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมและไม่ทำให้ลำบากในการเลือกอาหารมากเกินไปค่ะ

By มิรันตี มั่นคง

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (CDT)
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย