ญาณิศา พุ่มสุทัศน์ – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com โภชนาการที่คุณวางใจ Wed, 11 Nov 2020 03:40:43 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.3 https://i0.wp.com/goodhopenutrition.com/wp-content/uploads/2020/09/cropped-goodhope-icon-app-01-1.png?fit=32%2C32&ssl=1 ญาณิศา พุ่มสุทัศน์ – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com 32 32 176023460 อาหารสำหรับโรคลำไส้อุดตัน https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%99/ Wed, 15 Jul 2020 06:20:45 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=839 ภาวะลำไส้อุดตันเกิดขึ้นเมื่อมีการอุดกั้นหรือตีบแคบของทางเดินอาหาร ส่งผลทำให้น้ำหรืออาหารที่ถูกย่อยแล้วไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ เปรียบเสมือนท่อน้ำที่มีการอุดตันจนไม่สามารถระบายน้ำได้ดีเหมือนเดิม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลำไส้มีการตีบแคบลงหรืออุดตัน อาจเกิดจาก โรคมะเร็งบริเวณลำไส้ หรือ ผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น การผ่าตัด หรือการฉายแสง เป็นต้น

อาการของภาวะลำไส้อุดตัน

  • คลื่นไส้/อาเจียน
  • จุกเสียดแน่นท้อง/ท้องอืด
  • ปวดเกร็งท้อง
  • การขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป (ถ่ายลดลง)

อาการผิดปกติดังกล่าวอาจจะเป็นในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือมีอาการอย่างต่อเนื่อง หากเป็นภาวะลำไส้อุดตันบางส่วน แล้วมีอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจจะสามารถกินอาหารเหลวหรือน้ำได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนต้องใช้ยาแก้ปวด มีคลื่นไส้และอาเจียนมาก และมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย ควรรีบไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อเข้ารับการรักษา

อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยลำไส้อุดตัน

ผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะมีความรุนแรงของลำไส้อุดตันแตกต่างกัน จึงอาจจะรับอาหารได้ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย หั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ หรือปั่นให้ละเอียด และดื่มน้ำให้เพียงพอ

ผู้ป่วยอาจจะเริ่มจากอาหารเหลวใสก่อน แล้วจึงทดลองกินอาหารชนิดอื่น ๆ โดยเพิ่มอาหารทีละชนิดในปริมาณน้อย แล้วสังเกตอาการที่ผิดปกติ ถ้าไม่มั่นใจหรือรับประทานแล้วรู้สึกว่าการแย่ลง แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นได้

หากต้องรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารน้ำ ๆ เกิน 5 วันขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์และนักกำหนดอาหารเพื่อช่วยแนะนำอาหาร รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุรวมที่จำเป็น

ผู้ป่วยลำไส้อุดตันที่มีอาการรุนแรง จนอาหารและน้ำไม่สามารถผ่านไปได้ ควรงดอาหารและน้ำทุกชนิดทางปาก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

อาหารที่ผู้ป่วยลำไส้อุดตันสามารถรับประทานได้และควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

ข้าว แป้ง และธัญพืช

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ข้าวขาว, ปลายข้าว, แป้งข้าวเจ้า
  • เส้นก๋วยเตี๋ยว, ขนมจีน, วุ้นเส้น, พาสต้า
  • ขนมปังขาว, แครกเกอร์, ข้าวพอง, ขนมปังเบอร์เกอร์
  • โจ๊กปั่น, ข้าวต้ม, ซุปข้น, ซุปครีม
  • ข้าวกล้อง, ข้าวสาลี, จมูกข้าว
  • ขนมปังโฮลวีต, แป้งขนมปัง
  • ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต, ลูกเดือย, ควินัว, ซีเรียล, เม็ดแมงลัก
  • ถั่วเหลือง, ถั่วแดง, ถั่วดำ, ถั่วเขียว, ถั่วแระ

เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

ควรหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นบาง ๆ หรือบดให้ละเอียด ปรุงให้สุก อย่าลืมตัดเนื้อส่วนที่เหนียวและแข็งออก และเอาก้างออก

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ไข่แดง, ไข่ขาว, เต้าหู้ไข่, เต้าหู้ขาว
  • เนื้อไก่, เนื้อเป็ด, เนื้อหมู, เนื้อวัว
  • ปลา, กุ้ง, ปู
  • ลูกชิ้นปลา, ลูกชิ้นกุ้ง, ลูกชิ้นหมู
  • เนื้อสัตว์ชิ้นหนาติดกระดูกอ่อน
  • ปลาที่ไม่ได้เอาก้างออก
  • เอ็น, ข้อ, หนังปลา
  • เนื้อสัตว์ตากแห้ง, เนื้อแดดเดียว

ผัก

ไม่ควรรับประทานเกิน 1 ส่วนหรือ 1 ทัพพีต่อวัน และควรปอกเปลือก คว้านเมล็ด ตัดก้านและส่วนที่เหนียวและแข็งออก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ และปรุงให้สุก ผักบางชนิดอาจทำให้เกิดแก๊สได้ในบางราย

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ผักที่มีใยอาหารน้อยกว่า 2 กรัม ต่อทัพพี
  • ผักกาดขาว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี
  • ถั่วงอก, หัวไชเท้า, ฟักทองปอกเปลือก
  • ผักที่มีเส้นใยและกากใยสูง
  • คะน้า, ผักบุ้ง, ผักกระเฉด, ขึ้นฉ่าย, ผักโขม, บร็อกโคลี่, หน่อไม้ฝรั่ง
  • ข้าวโพดอ่อน, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว, ถั่วพู
  • มันเทศ, มันฝรั่งมีเปลือก

ผลไม้

ไม่ควรรับประทานเกิน 1 ส่วน หรือ 1 ถ้วยตวงต่อวัน และควรปอกเปลือก คว้านเมล็ด ตัดส่วนที่เหนียวและแข็งออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ผลไม้ที่มีใยอาหารน้อยกว่า 2 กรัม ต่อถ้วย
  • แตงโม
  • แคนตาลูป
  • ผลไม้ที่มีเส้นใยและกากใยสูง รวมถึงผลไม้ที่กินเมล็ดได้
  • ผลไม้ตากแห้งทุกชนิด
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทุกชนิด
  • ส้ม, องุ่น, ทับทิม, อินทผลัม, อะโวคาโด

นมและผลิตภัณฑ์จากนม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • นมจืด, นมเปรี้ยว, โยเกิร์ต
  • นมถั่วเหลือง, นมอัลมอนด์, น้ำนมข้าว
  • โยเกิร์ตใส่ผลไม้เบอร์รี่หรือกราโนล่า
  • นมปั่นผสมกับเบอร์รี่ต่างๆ หรือผลไม้ที่มีกากใยมาก

ไขมันและน้ำมัน

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • น้ำมัน, เนย, กะทิ
  • น้ำสลัด, มายองเนส
  • ถั่วเปลือกแข็งทุกชนิด เช่น ถั่วลิสง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, อัลมอนต์
  • เมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น งา, เมล็ดฟักทอง, เมล็ดทานตะวัน, กราโนล่า

ขนม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ขนมครก, บัวลอย, ขนมถ้วย, ลอดช่อง
  • วุ้นกะทิ, พุดดิ้ง, เจลลี่
  • ขนมเค้ก, ไอศกรีม, แพนเค้ก, วาฟเฟิล
  • ขนมคุกกี้หรือขนมปังไม่ผสมธัญพืช
  • ถั่วต้มน้ำตาล, ถั่วกวน, ถั่วอบ, กระยาสารท
  • ขนมปังลูกเกด, ขนมป๊อบคอร์น
  • เผือก หรือมันเชื่อม
  • คุกกี้ใส่ถั่วและธัญพืช

เครื่องดื่ม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • อาหารทางการแพทย์ที่มีใยอาหารน้อย
  • น้ำผลไม้เข้มข้น, น้ำผลไม้คั้นแยกกาก, น้ำมะพร้าว
  • เครื่องดื่มเกลือแร่, เครื่องดื่มวิตามิน
  • ชา, กาแฟ, น้ำสมุนไพร เครื่องดื่มมอลต์สกัด
  • สมูทตี้ปั่นหรือน้ำผลไม้ที่ไม่แยกกาก
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผสมใยอาหาร

ผู้ป่วยลำไส้อุดตันควรดูแลตนเองอย่างไร

  1. กินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มปริมาณครั้งละน้อย กินให้บ่อยขึ้นทุก 2 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยวันละ 6-7 มื้อ หรือ เพิ่มอาหารมื้อว่างเสริม
  2. จิบดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  3. เคี้ยวอาหารให้เอียดและกินอย่างช้า ๆ
  4. ตัดแบ่งอาหารเป็นชิ้นหรือคำเล็ก ๆ
  5. หลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียว หรือเคี้ยวยาก
  6. เลือกกินอาหารที่อ่อนนุ่ม หรือปั่นละเอียด
  7. เลือกวิธีการปรุงประกอบ เช่น การตุ๋น หลน นึ่ง ต้ม อบ แทนการปิ้งหรือย่าง
  8. เลือกอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานมาก เช่น อาหารทางการแพทย์ที่มีใยอาหารน้อย นม โยเกิร์ตพร้อมดื่ม ซุปข้นหรือซุปครีม
  9. ทดลองกินอาหารชนิดอื่น ๆ โดยเพิ่มอาหารทีละชนิดในปริมาณมื้อละน้อย ๆ ก่อน แล้วสังเกตอาการที่ผิดปกติ
  10. พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดินเป็นระยะทางสั้น ๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวมากขึ้น
  11. ปรึกษาแพทย์ นักกำหนดอาหาร หรือเภสัชกร ในเรื่องการเสริมวิตามินและแร่ธาตุรวม
  12. หากคำแนะนำดังกล่าวไม่ทำให้อาการผิดปกติดีขึ้น และผู้ป่วยผอมลง หรือน้ำหนักตัวลดลงมาก ควรปรึกษาแพทย์

สรุปแล้วภาวะลำไส้อุดตันแบบบางส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งไม่อยากอาหาร มีอาการแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ทำให้กินอาหารได้ลดลง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะทุพโภชนาการและการขาดสารอาหารได้อย่างมาก

ญาติและผู้ดูแล ควรช่วยดูแลผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดโอกาสการเสียชีวิตจากภาวะขาดสารอาหาร

]]>
839
ข้าวต้มปลากะพงเต้าหู้ไข่ https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%88/ Sun, 05 Jul 2020 01:29:55 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=786 เมนูสำหรับผู้ป่วยมะเร็งวันนี้ เป็นเมนูที่รับประทานง่ายและย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการเคี้ยวและการกลืน มีอาการเจ็บปาก หรือน้ำลายแห้งจากการฉายแสง และยังเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเหม็นเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ด้วยค่ะ

พลังงานโปรตีนคาร์บไขมัน
490 kcal30 g57 g16 g
คุณค่าทางโภชนาการสำหรับรับประทาน 1 ที่

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. ข้าวสวย 1 ถ้วย
  2. เนื้อปลากะพง 80 กรัม
  3. เต้าหู้ไข่ 1 หลอด
  4. น้ำซุปกระดูกหมูหรือไก่ 1 ลิตร
  5. รากผักชี 1 ต้น
  6. ตะไคร้ 2 ต้น
  7. ข่าอ่อน 1 แง่ง
  8. ซีอิ้วขาว 1 ชต.
  9. น้ำตาลทราย
  10. พริกไทย ¼ ช้อนชา
  11. ผักโรยตามชอบ (ผักขึ้นฉ่าย ต้นหอม และผักชี หั่นหยาบๆ)
  12. กระเทียมเจียว 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ​ (Preparation)

  1. ล้างผักต่าง ๆ ให้สะอาด นำข่าหั่นข่าเป็นแว่น หั่นตะไคร้เป็นท่อน และทุบให้พอแหลก
  2. เทน้ำซุปใส่หม้อ ตั้งไฟกลาง ใส่ ข่า ตะไคร้ และรากผักชีที่เตรียมไว้
  3. เมื่อน้ำซุปเริ่มเดือด ใส่เนื้อปลากะพงลงไป ต้มจนเนื้อปลาสุกดีแล้วตักขึ้น พักไว้
  4. ตักข่า ตะไคร้ และรากผักชีออก ตักฟองที่อยู่ในน้ำซุป ยกลง แล้วกรองน้ำซุปด้วยกระชอน
  5. นำน้ำซุปที่กรองแล้ว มาตั้งไฟอีกครั้งให้เดือด จากนั้นเทข้าวสวยลงไปในหม้อ
  6. ต้มจนข้าวเริ่มนิ่มขึ้น ใส่ผักชี ขึ้นฉ่าย และต้นหอมลงไป
  7. หั่นเต้าหู้ไข่ และใส่ลงในหม้อ ต้มจนเต้าหู้สุก
  8. ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว น้ำตาลทราย และพริกไทยตามชอบ ยกลงตักใส่ถ้วย
  9. ตักเนื้อปลาที่ต้มไว้ลงในถ้วยข้าวต้ม ราดด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว จัดเสิร์ฟคู่กับน้ำจิ้มเต้าเจี้ยว

เมนูนี้มีดีอะไร

ปลากะพงมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ทั้ง DHA และ EPA ซึ่งจัดเป็นสารอาหารที่มีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย (Immunonutrition) ช่วยลดการอักเสบ และยังช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งได้ด้วยนะคะ (1)

ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ได้รับจากเมนูนี้

DHAEPA
340 mg120 mg

เมนูข้าวต้มปลากะพงเต้าหู้ไข่ เป็นเมนูที่สามารถทำทานได้ง่าย ให้พลังงานและโปรตีนสูง ซึ่งให้โปรตีนเทียบเท่ากับการรับประทานไข่ขาวถึง 8 ฟอง และยังมีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิดอีกด้วยค่ะ

สารอาหารปริมาณ*%Thai RDI
วิตามินบี 20.3 mg26%
วิตามินบี 33.9 mg28%
วิตามินเอ125 mcg20%
ฟอสฟอรัส293 mg42%
เหล็ก2.9 mg12%
ทองแดง1.4 mg20%
สังกะสี1.4 mg20%
ซีลีเนียม9.6 mcg18%
* ปริมาณต่อ 1 ที่
Thai Recommended Daily Intakes

ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ โดยควรรับประทานพลังงาน และโปรตีนให้เพียงพอ เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อและภาวะโภชนาการให้เพียงพอ เพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็งค่ะ

]]>
786
ข้าวแกงกะหรี่ไก่ทอด และสเต็กหมู https://goodhopenutrition.com/articles/724-autosave-v1/ Sat, 27 Jun 2020 16:06:03 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=724 เมนูสำหรับผู้ป่วยมะเร็งวันนี้ จะเป็นเมนูอาหารสัญชาติญี่ปุ่น ที่ให้พลังงานและโปรตีนสูง ได้ประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระจากเครื่องเทศและยังหอมกลิ่นสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้อีกด้วยค่ะ นั่นก็คือ ข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น ทานคู่กับสันในไก่ชุบเกล็ดขนมปังทอด และสเต็กหมูกระทะร้อน เป็นเมนูที่เหมาะสำหรับการเพิ่มน้ำหนักตัวและมวลกล้ามเนื้อให้กับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ที่ต้องการพลังงานและสารอาหารมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

พลังงานโปรตีนคาร์บไขมัน
950 kcal44 g117 g34 g
แสดงพลังงานสำหรับรับประทาน 1 ที่

น้ำแกงกะหรี่ญี่ปุ่น

ส่วนผสม (Ingredients) สำหรับ 2 ที่

  1. เครื่องแกงกะหรี่กึ่งสำเร็จรูป 2 ก้อน (50 กรัม)
  2. แครอท ½ ถ้วย
  3. หอมหัวใหญ่ ½ หัว
  4. มันฝรั่ง ½ ถ้วย
  5. น้ำมันรำข้าว 1 ช้อนโต๊ะ
  6. น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง (500 มิลลิลิตร)

วิธีการทำ​ (Preparation)

  1. ล้างผักให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ
  2. ตั้งหม้อ ใช้ไฟปานกลางใส่น้ำมันรำข้าวลงไป
  3. เมื่อน้ำมันเริ่มร้อน ใส่หอมหัวใหญ่ลงไปผัดจนใกล้สุก เติมแครอทและมันฝรั่งลงไปผัดให้เข้ากันประมาณ 5-10 นาที
  4. เติมน้ำลงไป 5 ถ้วย แล้วปิดฝา แล้วต้มต่อจนส่วนผสมเริ่มสุกและนิ่มขึ้น ใช้เวลาเคี่ยวประมาณ 15-20 นาที
  5. ปิดไฟ เติมเครื่องแกงกะหรี่กึ่งสำเร็จรูปลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันดี
  6. คนต่อให้เครื่องแกงละลายจนหมด และเคี่ยวต่อไปอีกประมาณ 5 นาที ใช้ไฟอ่อน จนน้ำแกงเริ่มข้นขึ้น ปิดเตา ยกลง

สันในไก่ชุบเกล็ดขนมปังทอด

ส่วนผสม (Ingredients) สำหรับ 2 ที่

  1. เนื้อไก่สันใน 100 กรัม
  2. ไข่ไก่ ½ ฟอง
  3. พริกไทยป่น ¼ ช้อนชา
  4. เกลือ ½ ช้อนชา
  5. น้ำตาลทราย ¼ ช้อนชา
  6. แป้งสาลีเอนกประสงค์ ½ ถ้วยตวง
  7. เกล็ดขนมปัง ½ ถ้วยตวง
  8. น้ำมันรำข้าว 1 ถ้วยตวง (สำหรับทอด)

วิธีการทำ​ (Preparation)

  1. นำสันในไก่โรยเกลือ น้ำตาลทราย และพริกไทย คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักแช่ตู้เย็นไว้ 25-30 นาที
  2. นำไก่ที่หมักเสร็จแล้ว เติมแป้งสาลีเอนกประสงค์ลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  3. นำไข่ลงไปชุบไก่ไข่ที่ตีผสมไว้ แล้วนำไก่ไปคลุกกับเกล็ดขนมปัง
  4. ตั้งกระทะไฟปานกลาง เติมน้ำมันลงไป รอจนน้ำมันร้อน
  5. นำไก่ที่คลุกเกล็ดขนมปังแล้วลงไปทอดจนสุก เหลืองกรอบ ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน

สเต็กหมูกะทะร้อน

ส่วนผสม (Ingredients) สำหรับ 2 ที่

  1. เนื้อหมูสันนอก 100 กรัม (หั่นเป็นลูกเต๋า)
  2. โชยุ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. เหล้าสาเก (สำหรับทำอาหาร) 1 ช้อนโต๊ะ
  4. มิริน ½ ช้อนโต๊ะ
  5. เกลือ ¼ ช้อนชา
  6. พริกไทยดำเล็กน้อย
  7. น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ​ (Preparation)

  1. นำเนื้อหมูมาคลุกกับเกลือ พริกไทย โชยุ สาเก และมิริน หมักไว้ประมาณ 15 นาที
  2. ตั้งกระทะไฟกลาง เติมน้ำมันมะกอก นำหมูที่หมักไว้ลงไปย่างจนสุก
  3. เสิร์ฟพร้อมข้าวแกงกะหรี่

เมนูนี้มีดีอะไร

ผงกะหรี่เป็นการผสมผสานของเครื่องเทศและสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ลูกผักชี ยี่หร่า เมล็ดลูกซัด ซึ่งพืชสมุนไพรเหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารเคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองจากขมิ้นชันที่มีคุณสมบัติต่อการอักเสบในร่างกายได้

สารเคอร์คูมินมีการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ พบว่าอาจจะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วยนะคะ (1) งานวิจัยในมนุษย์ มีการทดลองให้รับประทานสารสกัดเคอร์คูมิน 1,080 มิลลิกรัม ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวน 126 คน เป็นเวลา 30 วัน พบว่าทำให้เซลล์มะเร็งมีการตาย (apoptosis) เพิ่มขึ้น และระดับสารอักเสบ (TNF-α) มีปริมาณลดลง (2)

อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่า เคอร์คูมินหรือขมิ้นชันมีประโยชน์ในการรักษามะเร็ง ที่สำคัญอย่าลืมว่าไม่มีอาหารอะไรรักษามะเร็งได้นะคะ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอ ในการต่อสู้กับโรคมะเร็งค่ะ

]]>
724
ผัดผักรวมมิตร และ ปีกไก่ทอดน้ำปลา https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0-%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b9%84%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/ Mon, 15 Jun 2020 12:00:00 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=512 เมนูง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการพลังงานและโปรตีนสูง และยังได้วิตามินต่างๆ ที่จำเป็นจากธรรมชาติด้วยค่ะ ผัดผักห้าสีกับปีกไก่ทอดเมื่อทานกับข้าวสวยร้อนๆ จะได้พลังงานถึง 690 กิโลแคลลอรี่ และโปรตีน 32 กรัม เพียงพอสำหรับความต้องการใน 1 มื้อของผู้ป่วยมะเร็งค่ะ

พลังงานโปรตีนคาร์บไขมันใยอาหาร
690 kcal32 g73 g30 g5 g

ผัดผักรวมมิตร

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. ผักรวม 5 อย่าง 150 กรัม (แครอท บร็อคโคลี ข้าวโพดอ่อน เห็ดหอม และหน่อไม้ฝรั่ง)
  2. กระเทียมสับ 5 กรัม
  3. ซอสหอยนางรม 1 ½ ช้อนโต๊ะ
  4. ซีอิ๊วขาว ½ ช้อนโต๊ะ
  5. พริกไทยป่น ¼ ช้อนชา
  6. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
  7. น้ำมันมะกอก (สำหรับผัด) 1 ช้อนโต๊ะ
  8. น้ำสะอาด ½ ถ้วยตวง

วิธีการทำ (Preparation)

  1. ล้างผักสดให้สะอาดด้วยเบคกิ้งโซดาหรือน้ำเกลือ และล้างผ่านน้ำหลายๆครั้ง
  2. หั่นผักทั้งหมดเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ และสับกระเทียมให้ละเอียด
  3. ตั้งกระทะด้วยไฟปานกลาง เติมน้ำมันมะกอกลงไป
  4. เมื่อน้ำมันเริ่มร้อน ให้ใส่กระเทียมลงไปเจียวจนหอมและมีสีเหลือง
  5. ใส่ผักทั้งหมดลงไปผัด จากนั้นเติมน้ำลงไป ผัดจนผักเริ่มนิ่มและใกล้สุก (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)
  6. เติมเครื่องปรุง ได้แก่ น้ำตาลทราย ซอสหอยนางรม และซีอิ๊วขาว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  7. เมื่อผักสุกและนิ่มดีแล้ว โรยพริกไทยเล็กน้อย ปิดเตา ตักผักทั้งหมดใส่ลงในจานเสิร์ฟ

ปีกไก่ทอดน้ำปลา

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. ปีกบนไก่ 200 กรัม
  2. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ½ ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำปลาแท้ 1 ช้อนชา
  4. พริกไทยป่นเล็กน้อย
  5. น้ำตาลทราย 1/8 ช้อนชา
  6. น้ำมันรำข้าว 1 ½ ถ้วยตวง (หรือจะใช้หม้อทอดไร้น้ำมันก็ได้ค่ะ)

วิธีการทำ (Preparation)

  1. นำปีกไก่ล้างน้ำสะอาด พักให้สะเด็ดน้ำในชามผสม
  2. เติมน้ำปลา น้ำตาลทราย และพริกไทยป่น ลงบนปีกไก่ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  3. โรยแป้งสาลีลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน พักแช่ตู้เย็นไว้ 30 นาที
  4. ตั้งกระทะด้วยไฟปานกลาง เติมน้ำมันพืชลงไป (หากใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน ให้ตั้งอุณหภูมิ 180 องศา เวลา 15 – 20 นาทีค่ะ)
  5. เมื่อน้ำมันเริ่มเดือด ใส่ปีกไก่ที่หมักไว้ลงไปทอดจนเริ่มมีสีเหลือง (ใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที)
  6. เมื่อไก่เริ่มสุกทั่วแล้ว ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน และตักลงจานเสิร์ฟ

เมนูนี้มีดีอะไร

เมนูจานนี้ ให้พลังงานและโปรตีนสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักและมวลกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังได้รับใยอาหารจากผักทั้ง 5 ชนิด ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้  และสามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ด้วยนะคะ

ผักต่างๆ ยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี และธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานของเซลล์ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีต่างๆ ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย

สรุปแล้ว เมนู ‘ผัดผักรวมมิตร และ ปีกไก่ทอด’ เรียกได้ว่าเป็นเมนูที่ทำง่าย อร่อย และได้ประโยชน์แบบต่อสุขภาพมากๆ ค่ะ

]]>
512