พิธพร ธาดามาตากุล – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com โภชนาการที่คุณวางใจ Sat, 19 Sep 2020 07:57:40 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.4 https://i0.wp.com/goodhopenutrition.com/wp-content/uploads/2020/09/cropped-goodhope-icon-app-01-1.png?fit=32%2C32&ssl=1 พิธพร ธาดามาตากุล – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com 32 32 176023460 อาหารดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) กับโรคมะเร็ง https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-gmos-%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%87/ Wed, 09 Sep 2020 12:00:00 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1312 ในแต่ละวันเราทุกคนอาจได้สัมผัสกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม โดยไม่ทันได้สังเกต ทั้งเสื้อผ้า อาหารและยารักษาโรค เช่น กางเกงยีนจากฝ้ายที่ทนต่อศัตรูพืช มะเขือเทศสีสวยเนื้อหนา อินซูลินรักษาโรคเบาหวานที่ผลิตจากแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม Genetically Modified Organisms (GMO) ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเราทุกคน การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้อย่างปลอดภัย

สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) คืออะไร

สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมคือสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงสารพันธุกรรมไปในลักษณะที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตมีคุณลักษณะตามต้องการดังนั้นอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ก็คือ อาหารที่มีส่วนประกอบมาจากพืชหรือสัตว์ที่ถูกปรับปรุงสารพันธุกรรม โดยอาจถูกพัฒนาให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น เช่น มันฝรั่งเพิ่มโปรตีน ถั่วเหลืองไขมันอิ่มตัวต่ำ ข้าวเพิ่มสารเบต้าแคโรทีน หรือพัฒนาเพื่อเอื้อต่อการเกษตรกรรม เช่น ถั่ววอลนัทที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคพืช มะละกอที่ทนทานต่อโรคด่างวงแหวน หรือเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลผลิต เช่น มะเขือเทศเนื้อหนาช่วยลดโอกาสการบอบช้ำขณะขนส่ง ผลมะละกอที่มีเมล็ดน้อยลง (1)

อาหารดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ก่อมะเร็งหรือไม่

ถึงแม้ว่ากระบวนการพัฒนาอาหารดัดแปลงพันธุกรรม เป็นการปรับเปลี่ยนในระดับสารพันธุกรรมของพืช แต่จากหลักฐานในปัจจุบัน การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรมนั้นปลอดภัยเช่นเดียวกับอาหารที่ไม่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม และไม่ได้เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งหรือกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด (2)

จากการศึกษาสุขภาพของสัตว์ปศุสัตว์ (สุกร ไก่และโค) ที่ถูกเลี้ยงด้วยเมล็ดข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม พบว่าไม่ได้มีความแตกต่างกับสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติ ทั้งน้ำหนักตัว โลหิตวิทยา ผลทางชีวเคมีและระบบภูมิคุ้มกันล้วนอยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งผลผลิต เช่น นมโค ก็ไม่มีความแตกต่างเช่นกัน (3)

กรณีข่าวดังในถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเมื่อหลายปีก่อน ที่พบสารไกลโฟเซตนั้น เกิดจากการใช้สารเคมีในขั้นตอนการเพาะปลูกของเกษตรกร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงพันธุกรรมแต่อย่างใด ซึ่งไกลโฟเซตนี้ก็คือ สารกำจัดวัชพืช ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก สารเคมีชนิดนี้ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งหรือไม่ แต่หากใช้ในปริมาณมากไม่ว่ากับการปลูกพืชชนิดใด ก็อาจทำให้มีสารนี้ตกค้างอยู่ในผลผลิต และเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อผู้บริโภคได้ (4)

ข้อได้เปรียบของอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (GMO)

จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมรายใหญ่ พบว่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดต้านทานแมลง สามารถลดการใช้สารเคมีในการกำจัดหนอนที่เป็นศัตรูพืชของข้าวโพดได้มากถึง 80% (5)

พืชดัดแปลงพันธุกรรมหลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง มะเขือ ถูกพัฒนาให้ทนต่อแมลง โรคพืช สารกำจัดวัชพืช และสภาพแวดล้อมที่ปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถลดใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชหรือเร่งผลผลิตซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของผู้บริโภคต่อการได้รับสารเคมีได้อีกทางหนึ่ง (6) นอกจากนี้พืชบางชนิดได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างเช่น ถั่วเหลืองที่ได้รับการพัฒนาให้มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 9 เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า จนมีปริมาณใกล้เคียงกับที่พบในน้ำมันมะกอก อะโวคาโด และเมล็ดอัลมอนด์ (7)

ผู้บริโภคควรระวังอย่างไร

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ แต่สามารถนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารหรืออาหารสัตว์ได้ ข้อกำหนดนี้เป็นไปเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามสายพันธุ์ของพืชดัดแปลงพันธุกรรมกับพืชท้องถิ่น อาหารดัดแปลงพันธุกรรมสามารถขายในท้องตลาดได้ก็ต่อเมื่อได้รับการประเมินจาก องค์การอาหารและยาแล้วว่าไม่มีผลกระทบใดใดต่อสุขภาพ

แม้ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพหรือเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งจากการบริโภคอาหารดัดแปลงพันธุกรรม แต่หากผู้อ่านท่านใดมีความกังวลและต้องการหลีกเลี่ยง สามารถปฏิบัติตามแนวทางเบื้องต้นได้ดังนี้ (8)

  1. ผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าจากต่างประเทศ หากมีส่วนประกอบของถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง หรือคาโนล่า ให้ตรวจดูว่าวัตถุดิบเหล่านั้นมาจากประเทศใด (ประเทศที่มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมากที่สุดสามอันดับแรก ตามรายงานของ ISAAA 2016 ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา)
  2. สังเกตคำว่า “ดัดแปรพันธุกรรม” ในฉลากแสดงส่วนประกอบของอาหาร (ตามกฎหมายไทย ถ้ามีส่วนผสมของวัตถุดิบดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่า 5% จะต้องแสดงในฉลาก)
  3. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิค
  4. เลือกทานอาหารตามฤดูกาล และเลือกซื้อวัตถุดิบที่ปลูกภายในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์

สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง การเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายและการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังคงเป็นแนวทางหลักที่ทางการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ ทั้งนี้เรายังคงต้องติดตามผลงานวิจัยผลกระทบของอาหารดัดแปลงพันธุกรรมต่อสุขภาพแบบระยะยาวต่อไป

]]>
1312
อาหารจากเตาไมโครเวฟปลอดภัย หรือ เสี่ยงมะเร็ง https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%9f%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%87/ Tue, 28 Jul 2020 15:44:41 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=969 เตาไมโครเวฟอีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการอุ่นและประกอบอาหาร เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการทำอาหาร ทำให้เตาไมโครเวฟได้รับความนิยมในวงกว้าง อย่างไรก็ตามเจ้าเตาไมโครเวฟนี้ก็ยังถูกตั้งข้อสงสัยมากมายถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ความเสี่ยงโรคมะเร็งและอันตรายจากรังสีตกค้าง แต่จะจริงเท็จแค่ไหน บทความในวันนี้มีคำตอบค่ะ

เตาไมโครเวฟคืออะไรและทำงานอย่างไร

คลื่นไมโครเวฟที่ใช้การประกอบอาหาร เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นเดียวกับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์หรือคลื่นวิทยุทั่วๆไป เตาไมโครเวฟทำงานโดยใช้หลอดแมกนีตรอนในการผลิตคลื่นไมโครเวฟและปล่อยผ่านเข้าไปในอาหารหรือของเหลว ทำให้โมเลกุลของน้ำสั่นจนเกิดความร้อนในเวลาอันรวดเร็ว (คล้ายๆกับเวลาที่เราเอามือสองข้างมาถูกันเพื่อให้เกิดความร้อน)

อาหารที่อุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ มีรังสีตกค้างจริงหรือ

คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นพลังงานต่ำเมื่อผ่านเข้าไปในอาหารจะมอบพลังงานให้กับโมเลกุลของน้ำในอาหาร แล้วสลายตัวไป ดังนั้นเมื่อเครื่องสิ้นสุดการทำงานจึงไม่มีรังสีไมโครเวฟหลงเหลืออยู่ทั้งในอาหารและภายในเตา

นอกจากนี้ระบบการทำงานของเตาไมโครเวฟเองก็ไม่ได้มีการสร้างกัมมันตภาพรังสี ฉะนั้นอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยเตาไมโครเวฟจึงไม่มีอันตรายจากรังสีแต่อย่างใด (1)

ไมโครเวฟทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงหรือไม่

การปรุงอาหารด้วยความร้อนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการในอาหารลดลง โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินที่ละลายในน้ำ นั่นคือ วิตามินซีและวิตามินบี เพราะสามารถสลายเมื่อโดนความร้อนหรือละลายไปกับน้ำได้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ เตาอบธรรมดา หรือการประกอบอาหารด้วยวิธีอื่น ก็ล้วนแต่ทำให้สารอาหารเหล่านี้ลดลงได้เช่นกัน แต่ข้อได้เปรียบของเตาไมโครเวฟคือ สามารถทำให้เกิดความร้อนได้เร็วกว่า จึงช่วยลดเวลาการปรุงอาหาร ทำให้อาหารสัมผัสกับความร้อนในระยะเวลาที่สั้นกว่า ลดการสูญเสียน้ำ จึงสามารถคงคุณค่าทางสารอาหารได้ดีกว่า (2)

ยกตัวอย่างเช่น บร็อคโคลี่หากนำไปต้มนาน 5 นาทีจะทำให้วิตามินซีลดลงประมาณ 50% ในขณะที่การนำเข้าเตาไมโครเวฟ 2 นาที จะสามารถรักษาวิตามินซีไว้ได้มากกว่า 90% (3)

ไมโครเวฟทำให้เป็นมะเร็งได้จริงหรือ

แม้การใช้เตาไมโครเวฟจะไม่ทำให้เกิดรังสีหรือคลื่นไมโครเวฟตกค้างในอาหาร แต่ทุกคนคงทราบกันดีว่า อาหารที่ถูกความร้อนสูงจนไหม้เกรียม ไม่ว่าจากการอบ ทอด หรือปิ้งย่างนั้น จะเกิดสารเฮทเทอโรไซคลิกเอมีน (HCAs) และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ (4)

ดังนั้นในการอุ่นหรือประกอบอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ จึงควรระวังไม่ให้อาหารไหม้เกรียมเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องการใช้ไมโครเวฟในการปรุงอาหารให้สุก เพราะเตาไมโครเวฟนั้นไม่สามารถทำความร้อนให้ทั่วถึงเท่ากันทุกจุดได้ จึงอาจทำให้อาหารสุกไม่ทั่วถึง หรือมีบางส่วนไหม้ได้ (5)

ผู้ใช้งานอาจจะใช้ตัวช่วยที่ทำให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง เช่นฝาครอบอาหาร เพื่อควบคุมความร้อนและไอน้ำไม่ให้ระเหยไป หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารที่มีชิ้นขนาดใหญ่มาก หากต้องการทำละลายเนื้อสัตว์หรืออาหารแช่แข็งควรเลือกโหมดกำลังไฟต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้สุกเกินไปหรือเกิดไหม้ได้

เลือกภาชนะให้ถูก ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้

ภาชนะพลาสติกส่วนใหญ่ไม่สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้ เนื่องจากความร้อนจะทำให้สารเคมีในพลาสติก เช่น สารบิสฟีนอล เอ (BPA) ละลายและปนเปื้อนในอาหาร

สาร BPA นำไปสู่ผลเสียทางด้านสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่และมะเร็งต่อมลูกหมาก (6) ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ภาชนะประเภทแก้ว เซรามิก หรือพลาสติกที่มีระบุว่าสามารถเข้าเตาไมโครเวฟได้เท่านั้น

สามารถมองเตาไมโครเวฟขณะทำงานได้หรือไม่

ประตูของเตาไมโครเวฟถูกออกแบบมาให้มีฉนวนกั้นแบบมีรูเล็ก ๆ รูเหล่านี้มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่คลื่นไมโครเวฟมีขนาดประมาณประมาณ 12 เซนติเมตร จึงไม่สามารถทะลุผ่านออกมาได้ สำหรับแสงสีส้มที่เห็นเวลาเครื่องทำงานนั้น คือแสงจากหลอดไฟที่ทางผู้ผลิตติดตั้งขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานมองเห็นอาหารด้านในเท่านั้น (7)

บทสรุป

เตาไมโครเวฟยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยในการอุ่นและประกอบอาหาร  ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่บ่งชี้ว่าการทานอาหารที่ผ่านเตาไมโครเวฟนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในทางกลับกันงานศึกษาวิจัยหลายเรื่องยังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการคงคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าการปรุงประกอบอาหารด้วยวิธีอื่น ๆ

เพื่อความปลอดภัย ควรตรวจสอบเตาไมโครเวฟให้มีสภาพสมบูรณ์ก่อนการใช้งาน โดยเฉพาะผนังของประตูไมโครเวฟต้องไม่มีตำหนิ หรือรอยรั่ว ขอบประตูปิดสนิท เพื่อป้องกันคลื่นไมโครเวฟทะลุออกมา รวมทั้งปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานเพื่อความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

]]>
969