พิชชา วระพงษ์สิทธิกุล – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com โภชนาการที่คุณวางใจ Sat, 19 Sep 2020 07:41:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.4 https://i0.wp.com/goodhopenutrition.com/wp-content/uploads/2020/09/cropped-goodhope-icon-app-01-1.png?fit=32%2C32&ssl=1 พิชชา วระพงษ์สิทธิกุล – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com 32 32 176023460 ข้าวราดน้ำชาแบบญี่ปุ่น https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%8d%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99/ Wed, 16 Sep 2020 12:09:00 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1125 เมื่อนึกถึงอาหารสำหรับผู้ป่วย ข้าวต้ม โจ๊ก หรือซุป มักเป็นอาหารที่ทุกคนคิดถึงเป็นอันดับต้น ๆ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานนั้น คงไม่น่าแปลกใจหากจะเบื่ออาหารกลุ่มนี้ ในวันนี้ทางกู๊ดโฮปขอนำเสนออาหารรสอ่อน ที่ทานง่าย คล้ายกับข้าวต้มแบบดั้งเดิม แต่เพิ่มเติมความแปลกใหม่ผสมผสานความเป็นญี่ปุ่นเข้ามาในเมนูทั้งหน้าตา ส่วนผสม กลิ่น และรสชาติ ซึ่งทางทีมงานกู๊ดโฮปหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยทุกท่านได้

เมนูโอชะซึเกะ (お茶漬け) หรือเรียกง่าย ๆว่าข้าวราดน้ำชาหรือน้ำซุปแบบญี่ปุ่น เป็นอาหารพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่โบราณในสมัยเฮอัง (ค.ศ. 794 – 1185) ถึงแม้จะมาเป็นที่นิยมแพร่หลายในญี่ปุ่นหลังจากปี 1952 ก็ตาม

เมนูนี้เป็นเมนูที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการนำน้ำชา หรือ น้ำซุปร้อน ๆ มาราดลงบนข้าวสวย โดยสามารถที่จะใส่เครื่องโรยหน้าต่าง ๆ ลงบนข้าวได้ตามใจชอบ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลากะพง ปลาแซลมอน เทมปุระ หรือของทอดแบบต่าง ๆ สามารถทานได้หลายแบบทั้งข้าวกับเครื่องเคียงเฉย ๆ ก็ได้ เพื่อให้ได้ลิ้มรสชาติของอาหาร หลังจากนั้นก็ยังสามารถที่จะเติมวาซาบิ และน้ำชาหรือน้ำซุปลงบนข้าวเพื่อให้ข้าวและเครื่องเคียงต่าง ๆ นุ่มลง รับประทานได้คล่องคอมากขึ้นด้วย

พลังงานคาร์บโปรตีนไขมัน
538 kcal51 g32 g23 g
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 จาน

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. ใบชาเขียว 2 ช้อนชา หรือ 1 ถุง ต่อน้ำ 300 มิลลิลิตร 
  2. ข้าวสวยหุงสุก 1 ถ้วย  
  3. ปลาแซลมอน 1 ชิ้น ประมาณ 100 กรัม
  4. โชยุ หรือ ซอสปลาแห้งญี่ปุ่น (คัตสึโอะดาชิ) 1 – 2 ช้อนชา
  5. อโวคาโด ครึ่งลูก
  6. สาหร่ายเส้นเล็ก, งาขาว, ผักชีญี่ปุ่นหรือต้นหอมซอย
  7. ข้าวเกรียบญี่ปุ่นก้อนเล็ก ๆ (Bubu Arare) หรือ แครกเกอร์ข้าว ตามแต่ความชอบส่วนบุคคล

วิธีการทำ (Preparation)

  1. หั่นปลาแซลมอนออกเป็นชิ้นพอดีคำ แล้วนำไปอบหรือย่างจนสุกดี (เทคนิคพิเศษ: หากใช้กระดาษไขทำขนมอบรองเนื้อปลา จะทำให้เนื้อปลาไม่ติดกระทะ)
  2. หั่นอโวคาโดเป็นชิ้นเล็ก ๆ และ ซอยผักชีญี่ปุ่นออกเป็นท่อนประมาณ 2 เซนติเมตร
  3. ตักข้าวสวยอุ่น ๆ ใส่ถ้วยข้าว วางเนื้อปลาแซลมอนและอโวคาโดบนข้าว
  4. โรยหน้าด้วยผักชีญี่ปุ่น งาขาว สาหร่ายแผ่นเล็ก ข้าวเกรียบ และอาจจะใส่วาซาบิเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ
  5. ต้มน้ำ 300 มิลลิลิตรให้เดือดแล้วหรี่ไฟให้อ่อนลง ใส่โชยุหรือซอสคัตสึโอะดาชิเพื่อเพิ่มรสชาติ
  6. ใส่ใบชาเขียวลงไปต้มทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 นาที ก่อนจะกรองใบชาออก
  7. ราดน้ำซุปร้อน ๆ ลงบนปลาและข้าว ระวังอุณหภูมิของน้ำซุป รอให้อุ่นพอดีและรับประทานได้ทันที

น้ำซุปที่ใช้สามารถเลือกเป็นซุปอื่น ๆ นอกจากชาเขียวได้ เช่น ซุปปลาญี่ปุ่น (ปลาคัตสึโอะ), ซุปสาหร่ายญี่ปุ่น, ซุปผักรวม หัวไชเท้า แครอท และหัวหอมใหญ่ และปรุงรสเพิ่มได้ตามใจชอบ

เมนูนี้มีดีอะไร

เมนูโอชะซึเกะ หรือเมนูข้าวราดน้ำชาแบบญี่ปุ่นนี้ ทำให้ข้าวนุ่มลงสามารถทานได้ง่ายขึ้น คล่องคอ และมีโปรตีนจากแซลมอนซึ่งเป็นหนึ่งในปลาทะเลที่ประกอบไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกลุ่มไขมันดี ได้แก่กรดไขมัน EPA และ DHA โดยกรดไขมัน EPA มีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ เพิ่มความอยากอาหาร และสามารถช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยมะเร็ง (1, 2)

อาหารจานนี้มีรสชาติไม่จัดจ้านมากจนเกินไปและมีความหอมและรสชาติที่แปลกใหม่จากน้ำชา หรือน้ำซุป ซึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยได้

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

ในผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจากยาเคมีบำบัด แนะนำให้หลีกเลี่ยงผักโรยและเครื่องโรยหน้าต่าง ๆ หรือนำอาหารไปอุ่นให้ร้อนอีกครั้งหลังใส่ ผัก งาขาว อโวคาโดและสาหร่ายแล้ว แครกเกอร์ข้าวเลือกชนิดที่อยู่ในซองบรรจุที่ปิดสนิท สะอาด และเพิ่งเปิดห่อใหม่เท่านั้น

]]>
1125
แซลมอนเทอริยากิ ข้าวอบธัญพืช https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b4-%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%98%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b8%8a/ Wed, 02 Sep 2020 12:00:00 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1110 ปลาเนื้อสีส้มอมชมพูอย่างแซลมอน เป็นหนึ่งในอาหารโปรดของใครหลาย ๆ คน ทั้งเมนูซูชิและซาซิมิอาจเป็นเมนูที่ขาดไม่ได้เลยโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ชอบทานอาหารญี่ปุ่นเป็นชีวิตจิตใจ

แต่สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ระหว่างการได้รับการบำบัดรักษา ควรทานอาหารที่สุกสะอาด เมนูแซลมอนในวันนี้จึงเป็นแซลมอนย่างสุกที่หอม อร่อย และมีหนังกรอบกำลังดีน่ารับประทาน

พลังงานคาร์บโปรตีนไขมัน
494 kcal59 g26 g17 g
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 จาน

ข้าวอบธัญพืช

ส่วนผสม (Ingredients) สำหรับ 3 ถ้วย

  1. ข้าวกล้อง 1 ถ้วยตวง
  2. กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. แปะก๊วย (สุก) 40 กรัม
  4. แครอท (ดิบ) 40 กรัม
  5. ถั่วแดง (สุก) 40 กรัม
  6. ลูกเดือย (สุก) 40 กรัม
  7. น้ำเปล่า 450 มิลลิลิตร

วิธีการทำ (Preparation)

  1. ล้างข้าวกล้อง (ข้าวสาร) 1-2  ครั้ง แล้วตั้งสะเด็ดน้ำทิ้งไว้
  2. ตั้งกระทะโดยใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันงา
  3. เมื่อน้ำมันร้อนได้ที่แล้ว ใส่กระเทียมลงไปผัดจนกระทั่งกระเทียมเริ่มหอมและเปลี่ยนสีเล็กน้อย
  4. ใส่แครอท ผัดสักครู่หนึ่งหลังจากนั้นใส่แปะก๊วย ถั่วแดงต้ม และลูกเดือยลงไป ผัดให้เข้ากัน
  5. นำข้าวกล้องมาผัดให้เข้ากันแล้วปรุงรสด้วยซีอิ้วขาวและน้ำมันหอย
  6. นำข้าวธัญพืชที่ผัดไว้ ใส่ในหม้อหุงข้าว และเติมน้ำเปล่าลงไป
  7. หุงข้าวได้ตามปกติ เมื่อข้าวสุกแล้วจึงโรยต้นหอมที่เตรียมไว้

แซลมอนเทอริยากิ

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. แซลมอน 100 กรัม
  2. ซอสเทอริยากิ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ
  4. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  5. ซีอิ้วขาว  1 ช้อนโต๊ะ
  6. น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ (Preparation)

  1. ตั้งกระทะไฟปานกลางใส่น้ำมันเล็กน้อย
  2. เมื่อกระทะร้อนได้ที่ นำปลาแซลมอนลงไปโดยเริ่มจากด้านที่มีหนังก่อน วางลงในกระทะและปล่อยทิ้งไว้สักครู่ก่อนที่จะกลับด้านและย่างให้พอสุกทั้งสองด้าน
  3. เปลี่ยนเป็นไฟอ่อน ก่อนจะราดซอสเทอริยากิลงไปให้ทั่วเนื้อปลาทั้งสองด้าน
  4. ย่างปลาจนกระทั่งสุกได้ที่ แล้วจัดเสริฟได้ตามต้องการ

เมนูนี้มีดีอะไร

เมนูนี้ประกอบไปด้วยใยอาหารจากธัญพืชต่าง ๆ ที่หลากหลายและน่ารับประทาน เช่น แปะก๊วย แครอท ถั่วแดงและลูกเดือย ใยอาหารช่วยในเรื่องของการขับถ่ายโดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งบางท่าน ที่มีการขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของการรักษา นอกจากนี้การบริโภคใยอาหารสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในคนทั่วไปได้ด้วย (1)

ปลาแซลมอนเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ EPA และ DHA ซึ่งในการศึกษาวิจัยพบว่า EPA มีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ รักษามวลกล้ามเนื้อและรักษาน้ำหนักตัวในผู้ป่วยมะเร็งได้ (2)

สำหรับผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจากยาเคมีบำบัด แนะนำให้หลีกเลี่ยงผักโรย และผักเคียงนะคะ

สร้างสรรค์เมนูโดย พรรณอร เก็บสมบัติ

]]>
1110
คุกกี้ข้าวโอ๊ต https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%82%e0%b8%ad%e0%b9%8a%e0%b8%95/ Wed, 26 Aug 2020 12:47:23 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1102 อาหารว่างโฮมเมดสูตรนี้เป็นอีกหนึ่งเมนูพลังงานสูงที่จะช่วยเติมพลังให้กับทุกท่าน แน่นอนว่าไม่ใช่เฉพาะกับผู้ป่วย แต่คุกกี้สูตรนี้มีพลังงานสูง สารอาหารเต็มเปี่ยม มีใยอาหารจากข้าวโอ๊ตและลูกเกด สามารถทานได้อย่างสบายใจ เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย

พลังงานคาร์บโปรตีนไขมัน
140 kcal17.8 g2.1 g6.7 g
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 ชิ้น

ส่วนผสม (Ingredients)

(สำหรับคุกกี้ ประมาณ 25 ชิ้น)

  1. ข้าวโอ๊ต 250 กรัม
  2. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม
  3. ลูกเกด 100 กรัม
  4. น้ำตาลทรายป่น 125 กรัม        
  5. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  6. เนยรำข้าว 150 กรัม
  7. เบกกิ้งโซดา ครึ่งช้อนชา
  8. เกลือป่น ครึ่งช้อนชา
  9. ผงอบเชย ครึ่งช้อนชา
  10. กลิ่นวนิลา ครึ่งช้อนชา

วิธีการทำ (Preparation)

  1. นำลูกเกดแช่น้ำร้อนทิ้งไว้ 10 นาที และอุ่นเตาอบไว้ที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส
  2. เตรียมของแห้ง โดยเริ่มจากผสมข้าวโอ๊ต เบกกิ้งโซดา ผงอบเชยและเกลือเข้าด้วยกัน
  3. ร่อนแป้งเอนกประสงค์ตามลงไปในส่วนผสมแห้งและวางพักไว้
  4. ตีเนยรำข้าวและน้ำตาลให้ขึ้นฟู (สังเกตได้โดยสีของเนยจะเริ่มอ่อนลง)
  5. ใส่ไข่และกลิ่นวานิลลา ลงในส่วนผสมเนยที่ขึ้นฟูแล้ว ก่อนจะตีต่อให้เข้ากัน
  6. แบ่งของแห้ง (แป้ง ข้าวโอ๊ต ลูกเกด) เป็นสามส่วน และค่อยๆใส่ลงไปผสมกับเนยที่ตีไว้จนเป็นเนื้อเดียวกัน
  7. แบ่งส่วนผสมใส่ถาดอบเป็นลูกกลมขนาดประมาณหนึ่งนิ้ว และเว้นระยะห่างระหว่างชิ้นประมาณหนึ่งนิ้ว
  8. นำเข้าเตาอบอุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที
  9. เมื่อเริ่มสุกคุกกี้จะเริ่มแบนลงและแผ่ออก ในขั้นตอนนี้การวางแต่ละชิ้นใกล้กันมากเกินไป คุกกี้อาจจะติดกันได้
  10. นำคุกกี้ออกมาพักบนตะแกรงให้เย็นและพร้อมรับประทาน

เมนูนี้มีดีอะไร

คุกกี้แบบนิ่มสูตรนี้มีส่วนผสมหลักคือข้าวโอ๊ต ซึ่งมีใยอาหารที่ละลายน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ ด้านนอกกรอบเล็กน้อย และเนื้อสัมผัสด้านในจะค่อนข้างนิ่ม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเคี้ยวและกลืน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเคี้ยว นอกจากนี้ยังสามารถทานคู่กับนม เป็นอาหารมื้อว่าง โดยสามารถนำคุกกี้ไปแช่ในนมสักครู่เพื่อทำให้คุกกี้นิ่มมากขึ้น

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

คุกกี้นี้เป็นอาหารว่างที่ให้พลังงานได้สูงและมีประโยชน์ก็จริง แต่ถ้าทานมากเกินไปจะกระทบต่อความอยากอาหารในมื้อหลักได้ แนะนำให้ทานครั้งละ 1 – 2 ชิ้น พร้อมกับเครื่องดื่มที่จำพวกนม หรือ อาหารทางการแพทย์หนึ่งแก้ว (ประมาณ 230 มล.) สำหรับมื้อว่างค่ะ

เนยชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหารก็เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่มีไขมันสูง ในการเลือกซื้อนั้น ควรอ่านฉลากโภชนาการเพื่อประเมินถึงปริมาณและชนิดของไขมัน โดยเลือก ชนิดที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุด จะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า

สร้างสรรค์เมนูโดย พรรณอร เก็บสมบัติ

]]>
1102
สลัดไก่ในมะเขือเทศอบ https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b8%ad%e0%b8%9a/ Wed, 19 Aug 2020 12:11:03 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1049 สลัดไก่ในมะเขือเทศอบเป็นสลัดแบบผ่านการทำสุก หรือที่เรียกว่า warm salad มีข้อดีคือทำให้มั่นใจว่าวัตถุดิบทั้งหมดถูกปรุงสุกและได้ผ่านความร้อนเรียบร้อยแล้ว ตัวไส้จะมีลักษณะคล้ายกับสลัดในไส้แซนวิช แต่เมื่อทานกับมะเขือเทศจะได้รสเปรี้ยวเล็กน้อยแทรกเข้ามาเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารได้โดยไม่รู้ตัวค่ะ

พลังงานคาร์บโปรตีนไขมัน
386 kcal17 g23 g25 g

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. มะเขือเทศ 1 ผลใหญ่
  2. มายองเนส สูตรไขมันต่ำ 2-3 ช้อนโต๊ะ
  3. สันในไก่ต้ม 1 ชิ้น
  4. ไข่ไก่ต้ม 1 ฟอง
  5. หอมแดงหั่นเต๋า 2 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือ พริกไทย เครื่องปรุง ตามต้องการ
  7. มาสตาร์ด ตามแต่ความชอบส่วนบุคคล
  8. ชีส ตามแต่ความชอบส่วนบุคคล

วิธีการทำ (Preparation)

  1. นำมะเขือมาหั่นส่วนขั้วและคว้านไส้ด้านในออกใช้เป็นถ้วยมะเขือเทศ เนื้อหั่นเป็นชั้นลูกเต๋าเล็กแยกไว้
  2. ใช้ส้อมในการฉีกสันในไก่ต้มออกให้เป็นเส้นๆ และนำไข่ต้มใส่ลงไปผสม ก่อนที่จะใช้ส้อมบดผสมไก่และไข่ต้มเข้าด้วยกัน
  3. ใส่มายองเนสและปรุงรสด้วย เกลือ พริกไทย มาสตาร์ด หรือเครื่องปรุงต่าง ๆ ตามต้องการ
  4. ผสมหอมแดงหั่นเต๋าลงไปเพื่อเพิ่มเนื้อสัมผัสที่แตกต่าง ผสมเข้าด้วยกัน
  5. น้ำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในถ้วยมะเขือเทศ และผสมไส้ในของมะเขือเทศที่หั่นเต๋าไว้ลงไปเล็กน้อย
  6. นำไปเข้าเตาอบที่ 200 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 8 – 10 นาทีและสามารถตกแต่งหน้าด้วยชีสเล็กน้อยตามชอบก่อนนำเข้าเตาอบ

เมนูนี้มีดีอะไร

เมนูสลัดไก่และไข่ในมะเขือเทศอบ ช่วยเปลี่ยนหน้าตาของเมนูไข่ที่คนไข้มะเร็งหลาย ๆ ท่านพยายามทานอยู่ให้น่าทานมากขึ้น เป็นของว่างที่มีพลังงานและโปรตีนสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอ ซี และอีสูง ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีน ซึ่งไลโคปีนนี้เป็นสารประกอบที่ละลายได้ดีในไขมัน ดังนั้นการรับประทานมะเขือเทศร่วมกับสลัดที่มีมายองเนสเป็นส่วนประกอบนั้น จะทำให้ได้ร่ายการดูดซึมไลโคปีนได้มากขึ้นค่ะ (1)

]]>
1049
การดื่มกาแฟกับโรคมะเร็ง https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9f%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%87/ Sat, 15 Aug 2020 10:29:00 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1024

ในปี 2561 ศาลในแคลิฟอร์เนียได้ตัดสินว่ากาแฟที่ขายในอเมริกานั้น ควรจะต้องมีสัญลักษณ์เตือนว่ามีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งด้วย เนื่องจากผลการศึกษาที่เจอสาร “อะคริลาไมด์ (acrylamide)” ในกาแฟ การดื่มกาแฟทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่มาหาคำตอบกันค่ะ

วันดี ๆ เริ่มต้นได้ไม่ยากที่ด้วยกาแฟที่ดีซักแก้ว กาแฟนับเป็นเครื่องดื่มที่จำเป็นในยามเช้าของใครหลายคน เสมือนเป็นนาฬิกาปลุกให้กับร่างกายและสมองของเราให้พร้อมกับวันใหม่ หรืออาจจะเป็นเครื่องดื่มยามบ่ายของวันหยุดในขณะที่เรานั่งพักผ่อนในร้านกาแฟ แต่คอกาแฟทั้งหลายก็อาจจะต้องตกใจเมื่อได้ยินข่าวจากทางอเมริกาเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมาว่าการดื่มกาแฟอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

อะคริลาไมด์ สารก่อมะเร็งที่พบในกาแฟ

สถาบันวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ ได้ทำการศึกษาในสัตว์พบว่า อะคริลาไมด์ อาจจะ เป็นหนึ่งใน carcinogen หรือ สารก่อมะเร็งได้ โดยปกติจะพบสารนี้ได้ในผลิตภัณฑ์เช่น พลาสติก กระดาษ หรือกาวต่าง ๆ และควันโดยเฉพาะควันบุหรี่ แต่สาร acrylamide ก็สามารถพบได้จากอาหารที่ผ่านกระบวนการที่มีความร้อนสูง การอบ หรือการทอด เช่น กาแฟที่ผ่านการคั่ว, มันฝรั่งทอด, คุกกี้, หรือขนมอบด้วยเช่นกัน อะคริลาไมด์ เกิดจากกรดอะมิโนที่ชื่อ asparagine และน้ำตาลในอาหารหลังจากโดนความร้อนแล้วเปลี่ยนรูปร่างไป (1)

การดื่มกาแฟทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่

การศึกษาและรายงานจาก the American Cancer Society, FDA, และ WHO พบว่า อะคริลาไมด์ในอาหารนั้นไม่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งชนิดต่าง ๆ (2) ถึงแม้ว่าอะคริลาไมด์จะทำให้เกิดมะเร็งได้ในกลุ่มสัตว์ทดลองแต่สัตว์กลุ่มนั้นก็เป็นกลุ่มที่ได้รับสารอะคริลาไมด์นี้ในปริมาณมาก (มากกว่า 1,000 – 100,000 เท่าของที่คนได้รับ) ยิ่งเป็นอะคริลาไมด์ในอาหารด้วยแล้วความเสี่ยงยิ่งน้อย (3)

นอกจากงานวิจัยจะพบว่ากาแฟไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งแล้ว ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งบางประเภทด้วย เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งผิวหนังชนิด melanoma มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก (4) งานวิจัยที่ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มกาแฟและมะเร็งตับ พบว่ากลุ่มคนที่ดื่มกาแฟวันละสองแก้ว (475 มิลลิลิตร) มีความเสี่ยงของมะเร็งตับน้อยกว่าถึง 40% (5) ถ้าเรามองภาพรวมของกาแฟต่อสุขภาพนอกเหนือจากโรคมะเร็งแล้ว ในปัจจุบันยังพบว่าการดื่มกาแฟอาจมีผลช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย (4, 6) 

ในปี 2562 ศาลแคลิฟอร์เนียก็ออกประกาศยกเลิกคำสั่งเรื่องสัญลักษณ์เตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในกาแฟไปเนื่องจากงานวิจัยในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่ากาแฟไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็ง (7)

บทสรุป

ผลการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าการดื่มกาแฟไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และยังลดช่วยความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้ด้วย ดังนั้นทั้งคอกาแฟ และผู้ป่วยมะเร็งจึงสามารถดื่มกาแฟได้อย่างสบายใจ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ดื่มกาแฟกันในปริมาณที่เหมาะสมคือ ไม่เกิน 3 – 4 แก้วต่อวัน และอย่าลืมนึกถึงปริมาณน้ำตาลหรือไซรัปที่อยู่ในกาแฟกันด้วยนะคะ

]]>
1024