มิรันตี มั่นคง – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com โภชนาการที่คุณวางใจ Sat, 19 Sep 2020 07:59:02 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.7.1 https://goodhopenutrition.com/wp-content/uploads/2020/09/cropped-goodhope-icon-app-01-1-32x32.png มิรันตี มั่นคง – GoodHope​ Nutrition https://goodhopenutrition.com 32 32 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ราดผัดกะเพรากุ้งเต้าหู้ไข่ขาว https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b8%8b%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%87/ Wed, 05 Aug 2020 13:59:45 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=1011 ข้าวราดกะเพราถือเป็นเมนูง่ายๆได้ประโยชน์เยอะ และสามารถรับประทานได้ทุกวันค่ะ

พลังงานโปรตีนคาร์บไขมัน
624 kcal31 g81 g19.5 g

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 150 กรัม
  2. ใบกะเพรา 1 ถ้วยตวง
  3. แครอท 20 กรัม
  4. พริก ตามชอบ
  5. กุ้งสด 5 ตัว
  6. เต้าหู้ไข่ขาว 1 หลอด
  7. แป้งประกอบอาหาร 15 กรัม
  8. น้ำมันรำข้าว 1 ช้อนโต๊ะ
  9. กระเทียม พริกไทย ตามชอบ
  10. ซอสปรุงรส ตามชอบ

วิธีการทำ (Preparation)

  1. หั่นเต้าหู้ไข่ขาวเป็นชิ้นพอดีคำ นำไปคลุกกับแป้งประกอบอาหารแล้วนำไปทอดจนเหลืองแล้วพักไว้
  2. ตั้งกระทะ ใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันลงไป ตามด้วยกระเทียมสับ พริกไทยและพริก(ตามชอบ) ผัดจนมีกลิ่นหอม
  3. ใส่กุ้งที่เตรียมไว้ลงไป ผัดจนกุ้งสุก แล้วปรุงด้วยซอสปรุงรส (ระหว่างผัดหากแห้งเกินไปให้เติมน้ำสตอกหรือน้ำเปล่าลงไปเล็กน้อย)
  4. ใส่เต้าหู้ไข่ขาวที่ทอดไว้และแครอทลงไป ผัดให้เข้ากัน
  5. ปิดไฟแล้วใส่ใบกะเพราลงไป ผัดต่ออีกเล็กน้อยให้ใบกะเพราสะดุ้งความร้อน จากนั้นตักเสิร์ฟกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ร้อนๆ รับประทานได้เลยค่ะ

เมนูนี้มีดีอะไร

ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวปรับปรุงสายพันธุ์​ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระแอนโทไซยานินสูงด้วยค่ะ ส่วนใบกะเพรา มีกลิ่นและรสที่ช่วยทำให้เจริญอาหาร

เต้าหู้ไข่ขาว 1 หลอดให้โปรตีนถึง 10 กรัม เทียบเท่ากับไข่ขาว 3 ฟองสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ใช้เป็นแหล่งของโปรตีนสลับกับไข่ไก่และเนื้อสัตว์ได้

สำหรับผู้ป่วยที่น้ำหนักน้อย หากรับประทานคู่กับไข่ดาวร้อนๆสักฟอง จะทำให้อิ่มท้องมากขึ้นและยังได้โปรตีนมากขึ้นด้วยค่ะ

]]>
ซุปมักกะโรนีไก่สับ ไข่ออนเซน https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%8b%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%84%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%99/ Mon, 20 Jul 2020 06:18:12 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=939 เมนูสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในวันนี้ เป็นอาหารอ่อนย่อยง่ายสไตล์ยุโรป อุดมไปด้วยโปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ไก่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการโปรตีนสูงและมีปัญหาด้านการเคี้ยว การกลืน หรือน้ำลายแห้งจากการฉายแสงค่ะ

พลังงานโปรตีนคาร์บไขมัน
409 kcal27 g28 g21 g

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. เส้นมักกะโรนี 1/2 ถ้วยตวง
  2. เนื้อไก่บด 80 กรัม
  3. หอมหัวใหญ่ 20 กรัม
  4. แครอท 20 กรัม
  5. มะเขือเทศ 20 กรัม
  6. ซูกินี 20 กรัม
  7. มันฝรั่ง 20 กรัม
  8. น้ำมันพืช 2 ช้อนชา
  9. ไข่ลวก 1 ฟอง
  10. พริกไทย เกลือและซอสปรุงรส เล็กน้อย

วิธีการทำ (Preparation)

  1. ต้มเส้นมักกะโรนี ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ เปิดไฟปานกลาง ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยแล้วใส่เส้นมักกะโรนีลงไป ปิดฝา ต้มประมาณ 8-10 นาที หรือจนกว่าเส้นมักกะโรนีจะนิ่ม (ตามความชอบ) ตักเส้นมักกะโรนีขึ้นมาแช่ในน้ำเย็น แล้วพักไว้
  2. ต้มไก่ หมักไก่บดกับเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ แล้วปั้นไก่เป็นก้อนพอดีคำ จากนั้นนำลงไปต้มจนสุก
  3. ผัดหอมหัวใหญ่กับน้ำมันจนหอมหัวใหญ่มีสีใส จากนั้นใส่ไก่ลงไป แล้วเติมน้ำประมาณ 1/2 หม้อ
  4. ใส่เส้นมักกะโรนีที่ต้มไว้ลงไป ตามด้วยผักต่างๆ แล้วปิดฝา ต้มจนผักทุกอย่างสุก แล้วปรุงรสตามชอบ ตักใส่ถ้วยพร้อมรับประทานค่ะ

เมนูนี้มีดีอะไร

เป็นเมนูที่มีโปรตีนสูง สามารถรับประทานได้ง่าย และมีสีสันน่ารับประทานจากผักที่มีความหลากหลาย ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ หัวหอมและมะเขือเทศยังมีรสอูมามิ ที่ช่วยเพิ่มความอร่อยแบบไม่ต้องพึ่งผงชูรสด้วยค่ะ

ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำหรืออยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ควรใช้เป็นไข่ต้มสุกแทนไข่ลวกนะคะ

เคล็ดลับการลวกไข่

ใส่น้ำในหม้อประมาณ 2 ถ้วยตวง (หรือประมาณน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณไข่)​ ต้มจนน้ำเดือดจัด ปิดไฟ เติมน้ำอุณหภูมิ​ห้องลงไป 1 ถ้วยตวง หลังจากนั้นล้างไข่ให้สะอาดและนำลงไปแช่ในหม้อ (ไม่ต้องเปิดไฟ)​ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที นำขึ้นพักไว้ที่อุณหภูมิ​ห้อง เพียงเท่านี้ก็จะได้ไข่ลวกที่มีความสุกพอดี น่ารับประทานแล้วค่ะ

เคล็ดลับการต้มไข่สุก

ล้างไข่ให้สะอาด ใส่ลงไปในหม้อ เติมน้ำลงไปให้ท่วมไข่ ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย ต้มที่ไฟปานกลางประมาณ 10-15 นาที ระหว่างต้มอาจคนไข่เป็นครั้งคราว เพื่อให้ไข่สุกอย่างทั้วถึงและไข่แดงอยู่ตรงกลาง นำไข่ที่ต้มเสร็จแล้วมาแช่ในน้ำเย็นจะทำให้ปอกเปลือกไข่ได้ง่ายขึ้นค่ะ

]]>
แซนด์วิชเนยถั่วกล้วยหอม https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%a1/ Wed, 08 Jul 2020 11:18:24 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=817 แซนด์วิชเป็นอาหารว่างที่มีพลังงานสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก เป็นเมนูที่สามารถทำได้ง่ายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพค่ะ

พลังงานคาร์บโปรตีนไขมัน
616 kcal109 g17 g22 g

ส่วนผสม (Ingredients)

  1. ขนมปังโฮลวีตแผ่นหนา 2 แผ่น
  2. เนยถั่วชนิดหยาบ 2 ช้อนโต๊ะ
  3. กล้วยหอม 1 ผลกลาง

วิธีการทำ (Preparation)

  1. ทาเนยถั่วให้ทั่วขนมปังทั้ง 2 แผ่น
  2. หั่นกล้วยหอม (ขนาดพอดีคำ) ใส่ลงไป แล้วประกบเข้าหากัน
  3. จัดเสิร์ฟพร้อมกับสลัดผักต้มและนมสดอุ่น ๆ

เมนูนี้มีดีอะไร

เนยถั่ว เป็นแหล่งของพลังงานและไขมันชนิดดี มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง กรดไขมันโอเลอิกเป็นกรดไขมันที่ชนิดเดียวกับที่พบในน้ำมันมะกอกซึ่งส่งผลให้ระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจด้วยคะ

กรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในเนยถั่ว (ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ)

ชนิดกรดไขมัน*ปริมาณ ​(กรัม)
MUFA8.3
– Oleic acid (18:1)7.94
– Gondoic acid (20:1)0.185
– Palmitoleic (16:1)0.01
– Erucic acid (22:1)0.015
PUFA4.01
– Linoleic acid (18:2)3.92
– Linolenic acid (18:3)0.009
– Arachidonic (20:4)0.006
SFA3.3
– Caprylic acid (8:0)0
– Capric acid (10:0)0
– Lauric acid (12:0)0
– Myristic (14:0)0.006
– Palmitic (16:0)1.52
– Stearic (18:0)0.698
*​ MUFA กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว; PUFA กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง; SFA กรดไขมันอิ่มตัว

ส่วนกล้วยหอม มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ วิตามินบี 6, วิตามินซี และโพแทสเซียม ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายค่ะ

เคล็ดลับสำหรับผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บปาก เคี้ยวหรือกลืนลำบากควรเลือกเป็นขนมปังชนิดนิ่มและเลือกเนยถั่วชนิดบดละเอียดนะคะ

เมื่อประกอบส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วนำแซนด์วิชไปอุ่นกับกระทะให้พอร้อนจะทำให้เนยถั่วละลายเข้าเนื้อขนมปัง ทำให้รับประทานได้ง่ายและอร่อยขึ้นค่ะ

]]>
อาหารแบคทีเรียต่ำ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง https://goodhopenutrition.com/articles/%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b3-%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%87/ Wed, 17 Jun 2020 10:13:54 +0000 https://goodhopenutrition.com/?p=581 ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอาจมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากได้ยาเคมีบำบัดประมาณ 7-14 วัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นในช่วงที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำนี้​ (เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลลดลงเหลือน้อยกว่า 500 เซลล์/ต่อไมโครลิตร) จึงแนะนำให้รับประทานอาหารแบคทีเรียต่ำ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อที่อาจจะเจือปนมากับอาหาร

อาหารแบคทีเรียต่ำ (neutropenic diet) คือ อาหารสุกสะอาด โดยมีหลักการว่าอาหารทุกอย่างจะต้องผ่านกระบวนการปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ไม่สามารถล้างให้สะอาดหรือปอกเปลือกได้ อาหารหมักดอง และอาหารที่เสี่ยงต่อการเจือปนของเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ

อาหารที่รับประทานได้และควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

เนื้อสัตว์และไข่

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • เนื้อสัตว์/ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ ที่ผ่านกระบวนการปรุงสุกอย่างทั่วถึง
  • อาหารกระป๋อง, ปลากระป๋อง
  • อาหารสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์
  • เนื้อสัตว์ดิบ/กึ่งสุกกี่งดิบ, ซูชิ, ซาชิมิ, หอย เช่น หอยกาบ, หอยแมลงภู่, หอยนางรม เป็นต้น
  • อาหารทะเลรมควันที่ไม่ผ่านความร้อน
  • ไข่ดิบ, ไข่ลวก, ไข่ยางมะตูม
  • โฮมเมดมายองเนส

นมและผลิตภัณฑ์จากนม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
  • วิปปิ้งครีม
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • โยเกิร์ต

ผักผลไม้

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ผักสุก, ผลไม้ที่ปอกเปลือกได้และผ่านการล้างให้สะอาด
  • ผลไม้แห้งและผลไม้กระป๋องที่บรรจุในภาชนะปิดจากโรงงานที่ได้คุณภาพ
  • ผักสด, ผลไม้ที่กินทั้งเปลือก หรือผลไม้ที่ไม่สามารถผ่านกระบวนการล้างให้สะอาดได้
  • ผักและผลไม้แช่แข็งที่ไม่ผ่านความร้อน

ข้าว แป้ง และธัญพืช

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • ขนมปัง/เบเกอรี่ ที่ผ่านการอบด้วยความร้อน
  • ข้าว/ผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญพืช ที่ผ่านกระบวนการปรุงสุกด้วยความร้อน
  • ขนมปังที่มีส่วนผสมของคัสตาร์ด หรือมายองเนสสด
  • ข้าวหมาก, ข้าวหลาม

ของหวาน

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • เค้ก, พุดดิ้ง, ไอศกรีม, ขนม, ลูกอม และหมากฝรั่ง ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท
  • ไอศกรีมตัก, ซอฟต์ครีม หรือไอศกรีมที่กดจากตู้ปั่นไอศกรีม
  • ขนม หรือของหวานที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงสุกด้วยความร้อน

เครื่องดื่ม

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • น้ำที่ผ่านการต้ม หรือกรองด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิส
  • เครื่องดื่มที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
  • น้ำแข็งที่ซื้อมาจากร้านค้า

เครื่องปรุง

รับประทานได้ควรหลีกเลี่ยง
  • วัตถุปรุงแต่งอาหาร เช่น ซอส, ซอสปรุงรส, แยม, เนยถั่ว, น้ำผึ้ง ฯลฯ ที่อยู่ในซอง/บรรจุภัณฑ์ปิดสนิท ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • พริกไทย/กระเทียม โรยหน้า ในภาชนะใช้ร่วมกันโดยไม่ผ่านความร้อน
  • น้ำผึ้งที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์และรังผึ้ง

ถึงแม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาหารแบคทีเรียต่ำ สามารถลดอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยได้ เมื่อเทียบกับอาหารที่ปรุงสะอาดตามหลักสุขอนามัยทั่วไป แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็ยังแนะนำอาหารในกลุ่มนี้ เนื่องจากน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าโทษ

โดยผู้ป่วยสามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมและไม่ทำให้ลำบากในการเลือกอาหารมากเกินไปค่ะ

]]>